วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

อินทราเน็ต (INTRANET) และเอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET

อินทราเน็ต (INTRANET) และเอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)

อินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นระบบที่ได้การกล่าวขวัญถึงกันอย่างมากคู่กับอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรต่าง ๆ ได้มีการนำอินทราเน็ตมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จนทำให้ระบบที่เกี่ยวกับอินทราเน็ตเป็นระบบที่ผู้ค้าต่าง ๆ มุ่งเข้ามาสู่กันมากที่สุด โดยสามารถให้นิยามของอินทราเน็ตได้คือ

ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ก็คือระบบเครือข่ายภายในองค์การที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกัน (Workgroup) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการทำงานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์การ

ประโยชน์ของอินทราเน็ต

ประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตมาใช้ในองค์กรต่าง ๆ คือ ลดต้นทุนในการบริหารข่าวสารข้อมูล เนื่องจากการจัดเก็บข่าวสารต่าง ๆ ภายในองค์กร สามารถจัดเก็บอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายดาย ด้วยการใช้ภาษา และใช้บราวเซอร์ในการอ่านเอกสาร ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดพิมพ์เอกสารกระดาษ



ช่วยให้ได้รับข่าวสารที่ใหม่ล่าสุดเสมอ เนื่องจากการจัดเก็บข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากเหมือนการพิมพ์ลงกระดาษ และไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทำให้บุคลากรในองค์กรสามารถรับข่าวสารใหม่ล่าสุดได้เสมอ

ช่วยในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างฉับไว ไม่ว่าบุคลากรจะอยู่ห่างกันคนละชั้น คนละตึก หรือคนละจังหวัด ด้วยการใช้เทคโนโลยีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการคุยติดต่อผ่านแป้นพิมพ์ หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีประชุมทางไกล เป็นการช่วยลดการสูญเสียเวลาของบุคลากร ตลอดจนช่วยให้ทีมงานมีการประสานงานกันดีขึ้น

เสียค่าใช้จ่ายต่ำ การติดตั้งอินทราเน็ตจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการติดตั้ง ซอฟต์แวร์การทำงานแบบกลุ่ม (Workgroup software) ทั่วไปมาก เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีแบบเปิดของอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตซึ่งมีราคาไม่สูงนัก หรือในงานบางส่วนอาจไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย เนื่องจากมีแชร์แวร์และฟรีแวร์อยู่มากมายในอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ หากองค์กรมีระบบเครือขายภายในอยู่แล้ว การติดตั้งระบบอินทราเน็ตเพิ่มเติมจะเสียค่าใช้จ่ายต่ำมาก เนื่องจากสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วได้ทันทีตามคุณสมบัติ การใช้งานข้ามระบบ (cross platfrom) ที่แตกต่างกันได้ของอินเตอร์เน็ต

เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเปิด ทำให้องค์กรไม่ผูกติดอยู่กับผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง จึงช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ผู้ค้าเลิกกิจการ ผู้ค้าเลิกการผลิตและสนับสนุน หรือผู้ค้าขึ้นราคา เป็นต้น รวมทั้งช่วยให้สามารถหาซอฟต์แวร์ใหม่ ที่จะมาช่วยในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพึ่งอยู่กับผู้ผลิตเพียงรายเดียว

เตรียมความพร้อมขององค์กรที่จะเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้ทันที รวมทั้งเป็นการเตรียมความรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตด้วย

องค์ประกอบของอินทราเน็ต

จากนิยมจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของอินทราเน็ตจะคล้ายคลึงกับอินเตอร์เน็ตอย่างมาก เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตมาใช้งานนั้นเอง โดยอินทราเน็ตที่ดีครวประกอบด้วย

การใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นโปรโตคอลสำหรับติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายใช้ระบบ World Wide Web และโปรแกรมบราวเซอร์ในการแสดงข้อมูลข่าวสาร มีระบบอีเมลล์สำหรับแลกเปลี่ยนสำหรับข้อมูลระหว่างบุคลากรในองค์กร รวมทั้งอาจมีระบบนิวส์กรุ๊ปส์ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ของบุคลากร

ในกรณีที่มีการเชื่อมต่อระบบอินทราเน็ตในองค์กรเข้ากับอินเตอร์เน็ต จะต้องมีระบบไฟร์วอลล์ (FireWall) ซึ่งเป็นระบบป้องกันอันตรายจากผู้ไม่หวังดีที่ติดต่อเข้ามาจากอินเตอร์เน็ต โดยระบบไฟร์วอลล์จะช่วยกลั่นกรองให้ผู้ที่ติดต่อเข้ามาใช้งานได้เฉพาะบริการและพื้นที่ในส่วนที่อนุญาตไว้เท่านั้น รวมทั้งช่วยกัน นักเจาะระบบ (hacker) ที่จะทำการขโมยหรือทำงายข้อมูลในระบบเครือข่ายขององค์กรด้วย





เอ๊กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)

เอ๊กซ์ทราเน็ต หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTERNET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่ายหรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้ง การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบ เครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่ายอินทราเน็ต จำนวนหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้

ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กรหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตอาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่ว ๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองคกรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี

ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอินเตอร์เน็ต

เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งของคุณปลอดภัย ทั้งบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและโทรศัพท์มือถือ ซิตี้แบงก์ขอแนะนำให้คุณทำตามวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ

คุณไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่น ในอินเตอร์เนทคาเฟ่ หรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น สำหรับบริการออนไลน์แบงก์กิ้ง เพราะคอมพิวเตอร์เหล่านั้นอาจจะมีโปรแกรมที่สามารถเข้าถึงและดึงข้อมูลส่วนบุคคลของคุณได้

ใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งอย่างปลอดภัย

พิมพ์ http://www.citibank.co.th หรือ http://www.citigold.citibank.co.th ลงใน address bar โดยตรงทุกครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าคุณได้เข้าสู่เวบไซต์ของธนาคารซิตี้แบงก์ที่ถูกต้อง

ตรวจสอบว่า URL ของเวบไซต์ธนาคารซิตี้แบงก์ ได้เปลี่ยนจาก http:// เป็น https:// และมีไอค่อนรูปกุญแจแสดงไว้ที่บริเวณด้านล่างของจอคอมพิวเตอร์ เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องใส่รหัสเข้าใช้งานออนไลน์แบงก์กิ้ง หรือมีความจำเป็นที่เวบไซต์ต้องมีการเข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

คุณสามารถคลิกบนรูปกุญแจดังกล่าว ซึ่งจะปรากฏรายการรับรองเรื่องความปลอดภัยขึ้นที่หน้าจอ รายการรับรองเรื่องความปลอดภัยนี้ควรจะรับรองความปลอดภัยสำหรับ http://www.citibank.co.th หรือ http://www.citigold.citibank.co.th



กดปุ่มออกจากระบบทุกครั้งที่คุณใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งเสร็จสิ้น ไม่ควรกดปิดเบราเซอร์ (web browser) เท่านั้น

แจ้งข้อมูลการติดต่อล่าสุดของคุณกับทางธนาคารฯ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะจะทำให้เราสามารถติดต่อคุณได้ทันท่วงที หากมีธุรกรรมทางธนาคารที่น่าสงสัยเกิดขึ้นกับบัญชีของคุณ

ตรวจสอบบัญชีของคุณอย่างสม่ำเสมอ และติดต่อธนาคารฯ ทันทีที่ซิตี้โฟนแบงก์กิ้ง โทร.1588 หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมธนาคารทางออนไลน์

ป้องกันรหัสผ่านของคุณ

-รหัสผ่านของคุณควรจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างตัวเลขและตัวอักษร และมีความยาวอย่างน้อย 6 อักขระ โดยที่ไม่ใช้ตัวอักษรหรือตัวเลขใดๆ ซ้ำกันเกิน 1 ครั้ง

-รหัสผ่านของคุณไม่ควรมีลักษณะเหมือนกับรหัสผู้ใช้ เบอร์โทรศัพท์ วันเกิด หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ของคุณ

- ควรจำรหัสผ่านของคุณ และไม่บันทึกข้อมูลรหัสผ่านไว้ที่ใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ

-ควรเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณอยู่เสมอ

-ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน ระหว่างการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้ง และบริการออนไลน์อื่นๆ

-ควรมั่นใจว่าไม่มีใครแอบมองในขณะที่คุณกำลังใส่รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ และไม่ควรเปิดเผยข้อมูลรหัสผ่าน หรือเปิดช่องทางให้ผู้อื่นเข้าถึงรหัสผ่านของคุณได้

-ไม่ควรเปิดเผยรหัสผ่านของคุณกับผู้ใดทั้งสิ้น แม้ว่าบุคคลนั้นจะอ้างว่าเป็นพนักงานของธนาคารซิตี้แบงก์ก็ตาม

One-Time PIN (OTP)

-ไม่ควรให้ผู้อื่นใช้งาน หรือเก็บโทรศัพท์มือถือของคุณ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่มีหมายเลขซึ่งใช้ลงทะเบียนเพื่อรับ OTP จากทางธนาคารฯ

-ไม่ควรเปิดเผย OTP ให้กับผู้ใดทั้งสิ้น

-แจ้งข้อมูลการติดต่อล่าสุดของคุณกับทางธนาคารฯ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ

ป้องกันคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของคุณ

-ไม่ควรเลือกบันทึกรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบออนไลน์แบงก์กิ้ง แบบอัตโนมัติบนเบราเซอร์ (web browser)

-ควรมั่นใจว่าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของคุณมีการติดตั้งโปรแกรม anti-virus ล่าสุด และอัพเดทโปรแกรมหรือฐานข้อมูลไวรัสอยู่เสมอทันทีที่มีการแจ้งเตือน เพื่อป้องกันไวรัสชนิดใหม่ๆ ที่อาจทำอันตรายกับอุปกรณ์ของคุณ



-ควรติดตั้งโปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall) เพื่อป้องกันการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของคุณโดยผู้ไม่ได้รับอนุญาต และควรมั่นใจว่ามีการอัพเดทโปรแกรมอยู่เสมอ

-ควรมั่นใจว่ามีการอัพเดทระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือของคุณอยู่เสมอ

-ควรลบข้อมูลการใช้อินเตอร์เนททุกครั้งหลังจากการใช้งานอินเตอร์เนทเสร็จสิ้น เพื่อลบข้อมูลทางบัญชีของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่คุณใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ

-หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่ารายการใช้แฟ้มและเครื่องพิมพ์ร่วมกัน (File & Print sharing) ไม่ได้ถูกเปิดใช้งานอยู่ ในขณะที่คุณกำลังเชื่อมต่อกับระบบ

-ทำการสำรองข้อมูล (Data Backup) ที่สำคัญของคุณอยู่เสมอ

-ควรใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสข้อมูล (Encryption Technology) เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ

การเชื่อมต่อเนตเวิร์กแบบไร้สาย

-ควรตั้งรหัสผ่านสำหรับการเชื่อมต่อเนตเวิร์กแบบไร้สาย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ใช้เนตเวิร์กที่ไม่ได้รับอนุญาตมาเข้าใช้เนตเวิร์กแบบไร้สายของคุณ

-ไม่ควรเปิดเผยชื่อเนตเวิร์ก (SSID - Service Set Identifier) เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใช้เนตเวิร์กจากภายนอกเข้ามาเชื่อมต่อเนตเวิร์กแบบไร้สายของคุณ

-ควรเข้ารหัสสำหรับการเคลื่อนย้ายข้อมูล (Data Transmission Encryption) เพื่อป้องกันเนตเวิร์กแบบไร้สายของคุณ

-ควรอนุญาตให้เฉพาะอุปกรณ์ที่มีการลงทะเบียนตรวจสอบ เชื่อมต่อเนตเวิร์กแบบไร้สายของคุณเท่านั้น

ระมัดระวังอีเมลล์ล่อลวง

อีเมลล์ล่อลวง คือ อีเมลล์ในลักษณะปลอมแปลงให้ผู้รับเข้าใจว่าเป็นอีเมลล์ที่ถูกต้อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อล่อลวงให้ผู้รับเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลทางบัญชี รหัสเอทีเอ็ม ซึ่งสามารถนำไปกระทำการทุจริตต่อไปได้ ด้วยการให้คุณตอบกลับอีเมลล์ หรือทำรายการเชื่อมโยงไปยังเวบไซต์อื่นๆ ที่ดูน่าเชื่อถือ

-ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทางการเงิน หรือบัตรเครดิต บนเว็บไซต์ที่น่าสงสัยหรือไม่มีความน่าเชื่อถือ

-ไม่เปิดอีเมลล์ที่มีไฟล์แนบซึ่งส่งมาจากบุคคลที่คุณไม่รู้จัก หรือลงโปรแกรมใดๆ ซึ่งไม่ทราบที่มา

ธนาคารจะไม่ส่งอีเมลล์ถึงคุณเพื่อขอรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ที่เป็นความลับทั้งสิ้น คุณไม่ควรตอบรับอีเมลล์ใดๆ ที่ขอรหัสผ่าน หรือเปิดเผยข้อมูลรหัสผ่านของคุณให้กับผู้อื่นโดยเด็ดขาด







ระมัดระวังซอฟท์แวร์สอดแนม (Spyware)

ซอฟท์แวร์สอดแนม คือ ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบเพื่อสังเกตการณ์หรือดักจับข้อมูลการใช้อินเตอร์เนท โดยถูกติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (ด้วยความยินยอมจากผู้ใช้หรือไม่ก็ตาม) เมื่อมีการดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ เกม หรือสกรีนเซฟเวอร์ จากเวบไซต์ต่างๆ ซอฟท์แวร์สอดแนมเหล่านี้มักจะอ้างว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานคอมพิวเตอร์ของคุณ

ซอฟท์แวร์สอดแนมสามารถแอบดักข้อมูลและเข้าถึงรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต และบันทึกเวบไซต์ที่ผู้ใช้เข้าถึง นอกจากนี้ ยังสามารถอ่านข้อมูลในจานบันทึก (Hard Drive) ทำให้การใช้งานบนคอมพิวเตอร์ล่าช้า เนื่องจากการใช้ทรัพยากรระบบที่สูงเกินปกติ ส่งผลไปถึงความเสียหายของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

ไม่ควรล็อกอินเข้าสู่ระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์ในขณะที่คอมพิวเตอร์ของคุณมีซอฟท์แวร์เหล่านี้ติดตั้งอยู่ หากในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีซอฟท์แวร์ที่อ้างว่าสามารถเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เนท หรือมีแถบเครื่องมือจากซอฟท์แวร์บุคคลที่สาม คุณอาจกำลังใช้ซอฟท์แวร์ที่มีความสามารถในการดักจับข้อมูลการใช้อินเตอร์เนท เราขอแนะนำในคุณลบซอฟท์แวร์เหล่านั้นทิ้งไป`

ความปลอดภัยของซิตี้แบงก์ ออนไลน์

การรักษาความปลอดภัยทางข้อมูล และการมอบประสบการณ์ในการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งอย่างปลอดภัยให้กับลูกค้า ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของธนาคารซิตี้แบงก์

การเข้ารหัสข้อมูลแบบ

ทุกข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์กับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของคุณ จะถูกเข้ารหัสและถอดรหัสด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลแบบ 128 บิท ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งในขณะนี้

แป้นพิมพ์ลอย (Virtual Keyboard)

ซิตี้แบงก์ออนไลน์มีระบบแป้นพิมพ์ลอยสำหรับการใส่รหัสผ่าน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้าในการล็อกอินเข้าสู่ระบบ

การล็อกอินเข้าสู่ระบบอย่างปลอดภัยด้วยคำถามลับ (Security Question)

ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์ทุกครั้ง นอกจากการใส่รหัสผ่านแล้ว ลูกค้าจะต้องตอบคำถามลับที่เคยเลือกไว้เมื่อครั้งลงทะเบียนเข้าใช้งานซิตี้แบงก์ออนไลน์ โดยระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์จะไม่มีการบันทึกรหัสผ่านหรือคำตอบใดๆ ไว้ในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของลูกค้าทั้งสิ้น

การยกเลิกการเชื่อมต่อกับระบบแบบอัตโนมัติ

หากไม่มีการใช้งานในระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์เป็นเวลากว่า 5 นาที ระบบจะทำการยกเลิกการเชื่อมต่อของคุณกับระบบโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเข้าถึงระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต



การรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลของลูกค้า

ธนาคารซิตี้แบงก์มีมาตรฐานที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลของลูกค้า และมีการตรวจสอบภายในอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรฐานนั้นๆ

แจ้งเหตุละเมิดทางออนไลน์

หากคุณเชื่อว่ามีการละเมิดข้อมูลบัญชีของคุณทางออนไลน์โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือมีธุรกรรมธนาคารทางออนไลน์เกิดขึ้นกับบัญชีของคุณ โดยที่คุณไม่ได้เป็นผู้กระทำ กรุณาแจ้งทันทีที่เจ้าหน้าที่ซิตี้โฟนแบงก์กิ้ง โทร. 1588

เหตุละเมิดทางข้อมูลจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประเมินความเสียหาย หากมีความสงสัยว่ามีการละเมิดข้อมูลเกิดขึ้นจริง ทางธนาคารฯ จะตรวจสอบเหตุละเมิดนั้นๆ ต่อไป

ทางธนาคารฯ จะมีการแจ้งผลการตรวจสอบเหตุละเมิดเป็นระยะๆ หากแต่ความรวดเร็วในการค้นหาวิธีแก้ไขเหตุละเมิด ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและรายละเอียดของเหตุละเมิดนั้นๆ

ในระหว่างการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ของเราอาจขอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุละเมิดของคุณเพิ่มเติม เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขเหตุละเมิดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

หน้าที่และความรับผิดชอบ

ผู้ใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้ง มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการป้องกันตนเองจากภัยทางออนไลน์ ดังนี้

คุณมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการเก็บรหัสผ่านของคุณเป็นความลับ และมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงหรือค้นเจอรหัสผ่านนั้นๆ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม รวมไปถึงการตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีใครแอบมองในขณะที่คุณกำลังใส่รหัสผ่านของคุณ

ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่น ในอินเตอร์เนทคาเฟ่ หรือคอมพิวเตอร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ สำหรับบริการออนไลน์แบงก์กิ้ง

หากคุณเชื่อว่ามีการโจรกรรมหรือการสูญหายของหมายเลขบัตรเครดิต และ/หรือ รหัสเอทีเอ็มของคุณ หรือมีธุรกรรมธนาคารทางออนไลน์เกิดขึ้นกับบัญชีของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต กรุณาแจ้งทันทีที่เจ้าหน้าที่ซิตี้โฟนแบงก์กิ้ง โทร. 1588

กรุณาอ่าน และทำตามวิธีการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งอย่างปลอดภัยของธนาคารซิตี้แบงก์ เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือของคุณ

ควรมั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือของคุณไม่มีความเสียหายทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การสูญหายของข้อมูล และไม่มีไวรัสต่างๆ ติดตั้งอยู่ในเครื่อง

ไม่ควรเปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือวางโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ ในขณะที่คุณกำลังใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้ง



คุณมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการอ่าน และทำตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้ง ที่คุณได้ตกลงยินยอมก่อนเข้าใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งของธนาคารซิตี้แบงก์

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานต่าง ๆ อาจยกตัวอย่างๆ ได้ เช่น

-บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bulletin Boards services)

-กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารรวมทั้งแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานข่าวของกลุ่มแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สนใจสามารถเข้ามาชมและฝากข้อความไว้ได้ ทำให้ข่าวสารสามารถแลกเปลี่ยนได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

จดหมายและจดหมายเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail and Vioce Mail)

ระบบการส่งจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข่าวสารโดยระบุตัวผู้รับเช่นเดียวกับการส่งจดหมาย แต่ผู้รับจะได้จดหมายอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นการส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกัยอยู่ ส่วนระบบจดหมายเสียงจะเป็นจดหมายที่ผู้รับสามารถรับฟังเสียงที่ฝากมากได้ด้วย

การประชุมระยะไกลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Teleconference)

การประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องที่ได้ความสนใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งในขณะนี้ โดยผู้ใช้จะสามารถร่วมประชุมกันได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าผู้ใช้งานแต่ละคนอยู่ไกลกันเพียงใดก็ตาม ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยังเป็นการหระหวัดเวลาของผู้ร่วมประชุมแต่ละคนด้วย รวมทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ใช้ตรวจรักษาโรคผ่านระบบประชุมทางไกล หรือใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น

บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Information services)

การบริการสนเทศ เป็นประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยผู้ให้บริการจะสามารถบริการสารสนเทศที่มีความสำรัญและเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ ผ่านทางเครือข่าย ซึ่งผู้ใช้จะสามารถเรียกดูสารสนเทศเหล่านั้นได้ทันทีทันใดและตลอด 24 ชั่วโมง

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI)

ระบบ EDI จะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรทางธุรกิจต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารที่เป็นแบบฟอร์มมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ใบส่งของ ใบสั่งซื้อ หรืออื่น ๆ ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถลดการใช้แบบฟอร์มที่เป็นกระดาษ ลดการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งเพิ่มความเร็วและลดความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์ด้วยมาตรฐานอีดีไอที่ยอมรับใช้งานกันทั่วโลกได้เกิดขึ้นในปี 1987 โดยองค์กรการสหประชาชาติได้พัฒนามาตรฐานที่มีชื่อว่า UN/EDIFACT (United Nations/EDI for Administration Commerce and Transportation) และองค์กร ISO ก็ได้ยอมรับและกำหนดชื่อให้เป็น ISO 9735 ในประเทศไทยก็เริ่มมีองค์การที่มีการนำระบบ EDI มาใช้แล้ว และคาดว่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต



การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer -EFT)

การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) เข้า-ออกหรือระหว่างบัญชีของธนาคาร เป็นการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันก็คือการฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM (Automated teller machine) รวมทั้งระบบการโอนเงินระหว่างบัญชี ไม่ว่าจะทำผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารหรือผ่านระบบธนาคารทางโทรศัพท์ก็ตาม

การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shopping)

บริการการสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิคส์ กล่าวได้ว่าเป็นแนวโน้มของการค้าโลกในยุคต่อไป ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าจากบ้านหรือที่ทำงาน โดยดูลักษณะของสินค้าจากภาพที่ส่งมาแสดงที่หน้าจอ และผู้ค้าสามารถได้รับเงินจากผู้ซื้อด้วยบริการโอนเงินทางอิเลคทรอนิกส์แบบต่างๆ ทันที



การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะ หมายความรวมถึงการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ข้อมูลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย

รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภท

1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized Networks)

2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer

3. ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server



1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง

เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งจะตังอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ โดยการเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลที่เครื่องกลาง ซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางจะมีราคาสูง และและไม่สามารถสนับสนุนระบบการประมวลผลแบบ Multiprocessor ได้ดีเท่ากับระบบเครือข่ายแบบ Client/Server ปัจจุบันระบบนี้จึงมีความนิยมในการใช้งานลดน้อย

2.ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเองเช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้

ข้อดีของระบบนี้คือ ความง่ายในการจัดตั้งระบบ มีราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ซึ่งมักจะมอบเป็นภาระหน้าที่ของผู้ใช้ในแต่ละสถานีงานให้ รับผิดชอบในการดูแลพิจารณาการแบ่งปันทรัพยากรของตนเองให้กับสมาชิกผู้อื่นในกลุ่ม ดังนั้นระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

ข้อด้อยของระบบนี้คือ เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server นี้จะเป็นเครื่องที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆ เพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย

การแบ่งปันการใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่าย

เมื่อกล่าวถึงทรัพยากรบนระบบเครือข่าย ในที่นี้จะคลอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อำนวยประโยชน์กับผู้ใช้ในระบบ เช่น แฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล รูปภาพและสไลด์สำหรับเสนอผลงาน ตลอดจนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บนระบบเครือข่าย ได้แก่ ฮาร์ดไดร์ฟที่มีการแชร์ไว้สำหรับให้บริการพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือใช้เป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวสำหรับการโยกย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย เครื่องโทรสาร เป็นต้น นอกจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในสภาพการณ์ปัจจุบันนั่นก็คือ ข่าวสารข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการส่งข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง หรือการกระจายข่าวสารที่มีความสำคัญจากผู้บริหาร หรือฝ่าย สารสนเทศขององค์กร สภาพแวดล้อมของระบบเครือข่ายที่เอื้ออำนวยต่อการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานในระบบนี้ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้องค์กรประสพความสำเร็จในการประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ




ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต,องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์,การประมวลผล,การวิเคราะห์และการออกแบบระบบงาน

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
               อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมี บางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม  
               อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่จริงๆแล้วแล้วอาร์พาเน็ต เป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่ง ออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่ง ชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533
 
อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหว จึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อม
เครือข่ายต่างๆ ทำให้ เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้
               สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจร สื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และ ต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ
 
               สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไป ที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers)
 
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
ในความเป็นจริงแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการมาทำงานประสานงานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย

การประมวลผลข้อมูล
ข้อมูล คือข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ส่วน สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมถูกต้อง จนได้รูปแบบผลลัพธ์ ตรงความต้องการของผู้ใช้ 
ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานดังต่อไปนี้
1.             ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้ จะทำให้เกิดผลเสียหายมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของการประมวลผลส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
2.             ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียกค้นและรายงาน ตามความต้องการของผู้ใช้
3.             ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมและวิธีการทางปฏิบัติ ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศ ต้องสำรวจและสอบถามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์เหมาะสม
4.             ความชัดเจนกระทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กระทัดรัด สื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่อข้อมูลให้เหมาะสม เพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
5.             ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตข้อมูล ที่สอดคล้องกับความต้องการ
ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายอย่าง ประกอบกันคือ
1.             การรวบรวมข้อมูล
2.             การแยกแยะ
3.             การตรวจสอบความถูกต้อง
4.             การคำนวณ
5.             การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ
6.             การรายงานผล
7.             การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น
การประมวลผลข้อมูล จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ เพราะข้อมูลที่มีอยู่ รอบๆ ตัวเรามีเป็นจำนวนมากในการใช้งานจึงต้องมีการประมวลผล เพื่อให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมหลักของการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จึงประกอบด้วยกิจกรรมการ เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ ความถูกต้องด้วย กิจกรรมการประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งแยกข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ และกิจกรรมการเก็บรักษาข้อมูลซึ่งอาจต้อง มีการทำสำเนา ทำรายงาน เพื่อแจกจ่าย

วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ

(1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผลการประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

(2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานหรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน 

การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 
ความหมายของการวิเคราะห์และออกแบบระบบสามารถแบ่งการให้ความหมายออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ 
1. การวิเคราะห์ระบบงาน 
2. การออกแบบระบบงาน
                1. การวิเคราะห์ระบบงาน 
คำว่า วิเคราะห์มาจากคำว่า พิเคราะห์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยน พ เป็น ว ในภาษาไทยซึ่งแปลความหมายได้ว่า การพินิจพิเคราะห์ การพิจารณา การใคร่ครวญ การไต่สวนความหรือเรื่องราว ส่วนในภาษาอังกฤษก็ได้ให้ความหมายใกล้เคียงกันคือ Determine, Examine และ Investigate ซึ่งคำว่าวิเคราะห์นี้สามารถนำไปใช้กับวิชาการต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น การวิเคราะห์โครงสร้าง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวิเคราะห์ปัญหา เป็นต้น 
คำว่า วิเคราะห์ที่ใช้กับการวิเคราะห์ระบบนั้น ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Analysis” ซึ่งแปลว่า การแยกสิ่งที่ประกอบกันออกเป็นส่วน ๆ เช่น การแยกระบบใหญ่ออกเป็นส่วนย่อย ๆ คือ เป็นการแยกปัญหาออกเป็นส่วน ๆ เพื่อสะดวกในการพิจารณาหรือตัดสินใจ จามความหมายของคำว่าวิเคราะห์ดังกล่าวนี้ จะเห็นว่า การวิเคราะห์ระบบงานไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากหรือเรื่องที่สลับซับซ้อนแต่ประการใด 
การพิจารณาใคร่ครวญในปัญหาต่าง ๆ ของคนเรานั้น มีวิธีการใหญ่ ๆ อยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ 
1.1 วิธีธรรมดา (Natural Determination) เป็น วิธีที่คนส่วนมากใช้กันเป็นปกติธรรมดาโดยอาศัยประสบการณ์และสามัญสำนึกของแต่ละบุคคลเป็นหลัก คนที่มีวิจารณญาณสูง ๆ อาจจะสามารถพิจารณาตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วไม่แพ้นักวิชาการทางด้านวิเคราะห์ระบบ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาใคร่ครวญและตัดสินใจด้วยวิธีการนี้โอกาสที่จะผิดพลาดอย่างมีสูง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียแก่ธุรกิจเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น ถ้าเป็นงานสำคัญ ๆ ทางธุรกิจแล้วไม่ควรใช้วิธีนี้เป็นอย่างยิ่ง 
1.2 วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Methodology Determination หรือ System Analysis) เป็นวิธีการพิจารณาใคร่ครวญและตัดสินใจโดยอาศัยระบบทางวิทยาศาสตร์ เช่น สถิติ และการคำนวณ เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้หลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ เข้าช่วยผู้ที่จะทำการวิเคราะห์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาการแขนงต่าง ๆ ที่จะใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน จึงได้มีการจัดให้สอนในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ขึ้น 
นอกจากนี้ยังมีคำที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกันกับคำว่า วิเคราะห์ที่ควรจะทำความเข้าใจเพื่อป้องกันการสับสนในการใช้ เช่น คำว่า การวิจัย การค้นคว้า การค้นคิด เป็นต้น ซึ่งความจริงแล้วการวิเคราะห์กับการวิจัยเป็นคนละเรื่อง คนละความมุ่งหมายกัน แต่มีความใกล้เคียงกันมาก การวิจัยนั้นมุ่งในการค้นหาข้อเท็จจริง หรือความถูกต้องที่สุดของปัญหาเช่น การวิจัยภาวะของผู้มีรายได้น้อย คือ การค้นหาสภาพของผู้มีรายได้น้อย คือ การค้นหาสภาพของผู้มีรายได้น้อย เป็นการหาสาเหตุว่า เป็นเพราะอะไรบ้าง เหล่านี้เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์นั้นจะเป็นการมุ่งหาสาเหตุเพื่อทำการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นให้ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดเท่าที่จะทำได้ การแก้ปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบนั้นอาจไม่ใช่ทางที่ถูกต้องที่สุด แต่เป็นทางที่ดีที่สุดที่ควรจะกระทำเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการแก้ไขปัญหาของนักวิเคราะห์ระบบเป็นการประนีประนอมกับบุคคลในหลาย  ๆ ฝ่ายที่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้การทำงานของระบบมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง 
การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ระบบใดระบบหนึ่งโดยมีการคาดหมายและจุดมุ่งหมายที่จะมีการปรับปรุงและแก้ไขระบบนั้น การวิเคราะห์นั้นจะต้องทำการแยกแยะปัญหาออกมาให้ได้ แล้วกำหนดปัญหาเป็นหัวข้อเพื่อทำการศึกษา และหาวิธีแก้ไขในที่สุด 
การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) หมายถึง วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือในระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้วการวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบ คือ การหาความต้องการ (Requirements) ของระบบสรสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบ
                2. การออกแบบระบบงาน 
                การออกแบบ หมายถึง การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผน หรือเรียกว่า พิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศให้ใช้งานได้จริง 
ความต้องการของระบบ เช่น สามารถติดตามยอกขายได้เป็นระยะ เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถปรับปรุงการขายได้ทันท่วงที
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
เมื่อได้ทำความรู้จักและเข้าใจถึงความหมายของการวิเคราะห์และออกแบบระบบแล้วก็ต้องมาทำความรู้จักกับผู้ที่จะมาทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ได้กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้นให้ดีก่อนที่จะไปเริ่มการทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบต่อไป 
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) คือ บุคคลที่ศึกษาปัญหาซับซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบและแยกแยะปัญหาเหล่านั้นอย่างมีหลักเกณฑ์ นักวิเคราะห์ระบบหรือที่เราเรียกกันว่า SA จะทำหน้าที่หาวิธีการแก้ไขปัญหาที่แยกแยะเหล่านั้น พร้อมทั้งให้เหตุผลด้วยการวิเคราะห์ระบบนั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องกำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์ และต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายในการวิเคราะห์นั้นด้วย นอกจากนี้ยังต้องทำความเข้าใจโครงสร้างลักษณะขององค์การนั้นในด้านต่าง ๆ 
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือของธุรกิจนั้น ๆ 
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) คือ บุคคลที่มีหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนาระบบงานในระบบการประมวลผลข้อมูล ด้วยระบบและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบงานบรรลุถึงเป้าหมายตามต้องการของผู้ใช้ระบบ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ระบบข้อมูล การออกแบบระบบการปฏิบัติงานในการประมวลผลข้อมูล การสร้างขั้นตอนการปฏิบัติงาน การพัฒนาโปรแกรม และการเขียนเอกสารต่าง ๆ ประกอบการปฏิบัติงานของระบบ 
จากความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่านักวิเคราะห์ระบบงานเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานในการวิเคราะห์และออกแบบระบบการประมวลผล นอกจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบยังต้องรับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลเดิมที่จะป้อนเข้าสู่ระบบ 
อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องศึกษา คือ ลักษณะโครงสร้างข้อมูลที่มีอยู่ในการทำงานของะระบบที่ทำการวิเคราะห์นั้น และที่สำคัญที่นักวิเคราะห์ระบบจะมองข้ามไปไม่ได้ นั่นคือ คนหรือบุคลากรที่ทำงานอยู่กับระบบที่ทำการวิเคราะห์ ต้องทำการศึกษาว่าคนเกี่ยวข้องกับระบบอย่างไร เกี่ยวข้องตรงไหน ทำอะไร เพราะคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ถ้าขาดความร่วมมือจากบุคลากรที่ทำงานอยู่ในระบบที่จะศึกษา ก็ถือว่าล้มเหลวไปแล้วครึ่งหนึ่ง ดังนั้นจะมองข้ามคนไปไม่ได้
ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบ 
                โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการโปรแกรมโดยเฉพาะ สิ่งที่เขาจะเชื่อมโดย ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น COBOL, BASIC, C++, PASCAL เป็นต้น งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปในลักษณะที่มีขอบเขตการทำงานที่แน่นอน คือ จะเขียนโปรแกรมให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ตามที่ได้มีการวิเคราะห์ขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะทำงานเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น ทำงานกับโปรแกรมเมอร์ด้วยกันกันเองหรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบงานให้แก่เขา 
แต่งานอขงนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์ (Programmer) ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่วางไว้ว่าผิดหรือถูก แต่งานที่ทำเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน (Application System) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์ ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล 
แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่สร้างความท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความคิดที่กว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ทำให้รู้สึกมีความภาคภูมใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปเป็นร่างและสามารถใช้ปฏิบัติงานได้จริง
                คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ 
ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์ระบบได้จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1. ความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรม เพื่อจะได้สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักวิเคราะห์จะต้องเข้าใจว่าสิ่งใดที่จะเขียนโปรแกรมได้ หรือเขียนไม่ได้ 
2. นักวิเคราะห์ระบบเปรียบเทียบเหมือนผู้จัดการทั่วไป จะเป็นผู้ที่ตัดสินใจในการกำหนดออกแบบระบบทั้งหมด 
3. นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำด้านเทคนิคที่ควรจะเป้ฯให้แก่โปรแกรมเมอร์ ผู้ออกแบบรายงานแบบต่าง ๆ และวิศวกร 
4. นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเข้าใจระบบที่จะทำการออกแบบและคนที่อยู่ในระบบนั้น ๆ 
5. นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เห็นสื่อกลางหรือล่ามระหว่างนักธุรกิจผู้ต้องการให้ออกแบบระบบกับโปรแกรมเมอร์หรือผู้ใช้ระบบ 
6. นักวิเคราะห์ระบบควรจะมีความรู้ทางด้านภาษาชั้นสูง (High-level Language) อย่างน้อย 1 ภาษา หรือความรู้ทางด้าน Fourth Generation Prototyping Language
7. นักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ติดตามประมวลผลระบบที่ออกแบบและติดตั้งว่าได้รับผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ตั้งแต่ต้นหรือเปล่า รวมทั้งการประเมินออกมาเป็นตัวเลขเพื่อชี้แจงให้ผู้ที่ออกแบบระบบเข้าใจ 
8. นักวิเคราะห์ระบบควรจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนัดวิเคราะห์ระบบจะต้องเกี่ยวข้องกับคนในทุกระดับในองค์กร รวมถึงระบบปฏิบัติการ ช่างเทคนิค พนักงานบัญชี เลขานุการ พนักงานธุรการ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุด 
9. นักวิเคราะห์ระบบที่ดี ควรจะมีประสบการณ์ทางด้านการออกแบบระบบพอสมควรโดยในช่วงแรกอาจจะเริ่มต้นจากการเป็นโปรแกรมเมอร์ และการออกแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระบบ เช่น การออกแบบรายงานง่าย ๆ การออกแบบหน้าจอ (Screen Design) เป็นต้น
                กิจกรรมต่าง ๆ ของระบบการประมวลผลข้อมูล 
กิจกรรมที่นักวิเคราะห์ระบบ จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็นประเด็นใหญ่ ๆ ได้ 6 ประเด็น ได้แก่ 
1. เป็นผู้ที่ทำการวิเคราะห์ระบบงาน เพื่อค้นหาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของระบบซึ่งจะต้องทำการแก้ไขปรับปรุงให้ปัญหานั้น ๆ หมดไป หรือเป็นการกำหนดปัญหาต่าง ๆ ของระบบที่กำลังเกิดอยู่ ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ปัญหาใดเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วนซึ่งจะต้องทำการแก้ไขก่อน หรือเพื่อเป็นป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของระบบ 
2. เป็นผู้สร้างวิธีการที่เห็นว่าดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานงานอันสูงสุด เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายตามที่ผู้ใช้ระบบต้องการ ด้วยการออกแบบระบบขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนระบบเดิมที่มีปัญหาอยู่ การปฏิบัติงานตามระบบที่ได้ออกแบบมาใหม่ที่เป็นการแก้ไขปัญหาของระบบเดิมให้หมดไปนั่นเอง แต่ถ้าได้ออกแบบระบบใหม่ขึ้นมาแล้วไม่ได้ปฏิบัติตาม ก็คงแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้น ๆ ไม่ได้ แต่ถ้าได้ปฏิบัติตามระบบใหม่ที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หรือปัญหายังไม่หมด ย่อมแสดงว่าการวิเคราะห์ระบบงานไม่ดีพอ ไม่เป็นการครอบคลุมการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว แต่ส่วนมากแล้วมักจะเกิดจากการไม่ได้ปฏิบัติไปตามระบบที่ออกมาใหม่ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระบบที่ออกใหม่มากกว่า 
3. นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการพัฒนาระบบงานที่ได้ออกแบบระบบไว้ ตามข้อ 2 ให้เป็นการสมบูรณ์ เพื่อพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติต่อไป เช่น การออกแบบฟอร์มต่าง ๆ สำหรับการบันทึกข้อมูล ทั้งที่จะต้องใช้เป็น Input หรือ Output การพัฒนาและการประมวลผลข้อมูลตลอดจนการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับการประมวลผล และการเขียนเอกสารสำหรับการปฏิบัติงานตามระบบใหม่เหล่านี้ เป็นต้น 
4. นักวิเคราะห์ระบบงานจะต้องทำการทดสอบระบบที่ได้ออกแบบขึ้นมาใหม่ให้มีความถูกต้อง หรือเพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้องตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ การทดสอบนี้อาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควร เพื่อเป็นการทดสอบความถูกต้องในการทำงานของระบบ หรือเพื่อเป็นการดูผลว่าเป็นการแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องหรือไม่ และเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่จะนำระบบไปใช้ได้มีความเข้าใจและปฏิบัติตามระบบที่ได้ออกมาใหม่นั้นถูกต้องแล้วจริง ๆ 
5. นักวิเคราะห์ระบบงานจะเป็นผู้ที่มีบทบาทในการติดตั้งระบบใหม่ คือ หลังจากได้ทำการทดลองระบบใหม่จนแน่ใจว่าถูกต้องหรือดีพอที่จะนำไปใช้งานได้แล้ว จะได้ทำการติดตั้งเพื่อให้งานออกแบบระบบสมบูรณ์พอที่จะทำการมอบหมายให้กับผู้ใช้ระบบต่อไป งานขั้นนี้ของนักวิเคราะห์และออกแบบระบบที่จะต้องทำต่อ คือ การติดตั้งระบบ การทดสอบระบบขั้นสุดท้าย การฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบ การจัดทำและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการปฏิบัติงาน เป็นต้น 
6. ท้ายสุดนักวิเคราะห์ระบบงานจะต้องติดตามผลงานการปฏิบัติงานของระบบที่ได้ติดตั้งไว้ และวางแผนในการบำรุงรักษาระบบ (System Follow Up and Maintenance) ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง คือ เมื่อระบบงานได้ติดตั้งและเริ่มปฏิบัติงานไปตามแผนงานที่ได้ออกแบบระบบไว้ใหม่แล้ว หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบจะยังไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านั้น จะต้องคอยติดตามการปฏิบัติงานของระบบนั้นไปอีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือทำการแก้ไข เพื่อความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมอยู่เสมอ งานขั้นนี้ เจ้าของระบบมักจะไม่สนใจและไม่ทราบว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง จึงมักไม่ได้มีการตกลงกันไว้ในสัญญาการทำงานการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เพื่อให้นักวิเคราะห์ระบบได้เตรียมงานสำหรับเรื่องนี้ไว้เพราะเกรงว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นแล้วถ้านักวิเคราะห์ระบบไม่ได้จัดเตรียมสำหรับงานขั้นนี้ไว้ในขั้นตอนของการออกแบบระบบด้วยแล้ว เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาจริง ๆ เจ้าของระบบมักจะขอร้องให้นักวิเคราะห์ระบบกลับเข้าไปช่วยทำการแก้ไขปรับปรุงระบบให้ใหม่ ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ นักวิเคราะห์ระบบงานอาจจะต้องทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบกันใหม่ตั้งแต่ต้นก็ได้ ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
รายละเอียดหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ 
นักวิเคราะห์ระบบ มีรายละเอียดหน้าที่การทองานที่กำหนดโดยทั่วไปเป็นมาตรฐานของตำแหน่งนักวิเคราะห์ระบบ ตาม Job Description ดังนี้ 
ตำแหน่ง 
นักวิเคราะห์ระบบ 
รายละเอียดของงาน 
                1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบงานข้อมูล (Information System) รับผิดชอบในการศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจ เพื่อที่จะหาทางนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วิธีการทางธุรกิจ รวมถึงบุคลากรต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาและให้บรรลุถึงความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ 
2. ออกแบบและจัดวางระบบฐานข้อมูล รวมทั้งการติดตั้งด้วย 
3. ให้คำแนะนำและอบรมทั้งทางด้านเอกสารและการพบปะพูดจา หรือการสัมมนาให้หัวข้อของระบบงาน
ความรับผิดชอบ 
                1. วิเคราะห์และประเมินผล เพื่อหาความเป็นไปได้ของระบบ (Feasibility Study) 
2. วิเคราะห์ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบธุรกิจที่เป็นอยู่ 
3. แจกแจงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องพัฒนาขึ้น เพื่อใช้หรือทดแทนระบบเดิม 
4. กำหนดทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ (Alternative Solution) ในการแก้ปัญหา 
5. เลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ตามความเหมาะสม 
6. ออกแบบและวางระบบงานให้มีความสอดคล้องกัน เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ 
7. ให้คำแนะนำต่าง ๆ เมื่อระบบงานถูกนำมาใช้จริง
หน้าที่ 
1.  จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งด้านกำลังคน 
2.  กำหนดแผนงานและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบงาน 
3.  ดำเนินการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบงาน 
4.  จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ระบบงานของธุรกิจในปัจจุบัน 
5.  พัฒนาระบบงานโดยใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาให้แก้ธุรกิจ 
6.  วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมต่าง ๆ ของเทคโนโลยี การปฏิบัติการ และฐานะทางเศรษฐกิจ 
7.  ทบทวนและยื่นข้อเสนอระบบงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ 
8.  ออกแบบและตรวจสอบความถูกต้องของระบบงาน 
9.  ออกแบบแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลและโครงสร้างงบต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบ 
10.  ออกแบบลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ใช้ระบบกับระบบงานคอมพิวเตอร์ (user Interfaces) เช่น ข้อความต่าง ๆ ที่ปรากฏบนจอมอนิเตอร์ในขณะป้อนข้อมูล 
11. ออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลและเทคนิค 
12. ออกแบบระบบรักษาความปลอดภัย (Security) และการควบคุม (Control) ระบบ 
13. ให้คำแนะนำทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ระบบดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย 
14. วางแผนงานต่าง ๆ เพื่อให้ระบบที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ถูกนำมาใช้แทนระบบเดิมโดยให้มีความยุ่งยากน้อยที่สุด (Conversion Plans)
บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ 
นักวิเคราะห์ระบบ จะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยการนำปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ คน(People) วิธีการ (Method) และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology) มาใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจ 
เมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล(Data) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระยะเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้หรือธุรกิจ (Easiness Users)
นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงแต่วิเคราะห์หรือออกแบบระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย 
นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทหน้าที่ที่สามารถแบ่งออกมาได้อย่างเด่นชัดอยู่ 4 ประการด้วยกัน คือ 
1. เป็นผู้อยู่กลางระหว่างนักวิชาการคอมพิวเตอร์ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ทางด้านการบริหารธุรกิจ กับนักวิชาการแขนงอื่น ๆ ของระบบธุรกิจที่ไปทำการวิเคราะห์ เช่น นักบริหารระดับสูง นักเศรษฐศาสตร์ นักการบัญชีและนักการเงิน ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ทางด้านระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ถึงแม้ว่านักวิชาการทางด้านการบริหารธุรกิจจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ สามารถทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยตนเองก็ตาม การวิเคราะห์และออกแบบระบบดังกล่าว ก็ยังคงเป็นงานที่ต้องอยู่ระหว่างการบริหารธุรกิจกับระบบงานคอมพิวเตอร์อยู่นั่นเอง คือ จะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่จะต้องทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถช่วยงานทางด้านธุรกิจให้เป็นประโยชน์มากที่สุดและนักบริหารหรือผู้ใช้ระบบไม่จำเป็นต้องศึกษาหรือมีประสบการทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก 
2. นอกจากจะมีความรู้และประสบการณ์ทางการวิเคราะห์และออกแบบระบบแล้วจะต้องมีความสามารถในการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการบริหารธุรกิจและระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการมองปัญหาได้กว้างไกล รอบคอมและมีความสามารถในการเสนอแนะทางแก้ปัญหาให้แก่นักบริหารได้อย่างสมเหตุสมผล เป็นที่เชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของนักบริหารธุรกิจ ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบงานจะต้องเป็นผู้ที่ศึกษาและหาประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับตัวเองอยู่ตลอกเวลา โดยการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ ความเคลื่อนไหวของธุรกิจแขนงต่าง ๆ ความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ เหล่านี้ เป็นต้น 
3. จะต้องเป็นผู้ที่ความรู้ความสามารถในการออกแบบระบบงานให้เป็นที่พอใจมากที่สุดจนเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในระบบธุรกิจนั้น ๆ นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการประสานความร่วมมือและแก้ข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบให้ดีที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เป็นระบบที่ดีที่สุดหรือเป็นระบบที่ถูกที่สุด แต่จะต้องเป็นระบบที่เหมาะที่สุดกับธุรกิจนั้น ด้วยวิธีการประนีประนอมให้เป็นที่ยอมรับกันของทุกฝ่าย การออกแบบระบบงานอย่างนี้เสมือนกับเป็นการหาเลข ค.ร.น. หรือเลข ห.ร.ม. ที่เลขตัวอื่น ๆ จะหารได้ลงตัว หรือนำไปหารกับเลขตัวอื่น ๆ ได้ลงตัวนั่นเอง ถ้าไม่สมารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้จะทำให้ระบบที่ออกแบบมาใหม่นั้นสร้างความขัดแย้งหรือสร้างความแตกแยกในองค์การธุรกิจมากยิ่งขึ้น 
4. จะต้องทำการออกแบบระบบงานขึ้นมาใหม่ และให้ระบบงานที่ออกมาใหม่นั้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัญหาที่เคยเกิดในระบบเก่าจะต้องหมดไป และระบบใหม่ก็จะต้องไม่มีปัญหาใหม่ก็จะต้องไม่มีปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามมาอีกด้วย นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้แก้ปัญหาไม่ใช่เป็นผู้สร้างปัญหาเสียเอง หรือไม่ใช่ผู้ที่สามารถแก้ปัญหาอย่างหนึ่งให้หมดไปได้แต่สร้างปัญหาอีกอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นตามมา 
จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่านักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารธุรกิจมากทีเดียว คือ เป็นทั้งผู้ออกแบบระบบงานที่สามารถแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน หรือเป็นผู้ออกแบบระบบงานที่สร้างปัญหาต่าง ๆ ให้เกิดมากยิ่งขึ้นก็ได้ทั้งนี้ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางด้านธุรกิจและด้านคอมพิวเตอร์ควบคู่กันไปนักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถจะออกแบบระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตนเองส่วนนี้เองทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ
การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์ระบบ 
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านวิชาการคอมพิวเตอร์และด้านธุรกิจในแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะในงานด้านที่ตนจะต้องเข้าไปทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบนั้น ๆ และสามารถที่จะพัฒนาระบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้หรือธุรกิจอย่างมีเทคนิคและแบบแผน ผู้ที่จะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีจะต้องมีการเตรียมตัวศึกษาและหาประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 
1. มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี ซึ่งอาจจำแนกย่อยออกเป็น 
1.1 ด้าน Hardware คือ ด้านระบบของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นรูปธรรมที่เกี่ยวกับชนิดและประเภทของเครื่อง ความสามารถเข้าใจการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องในยุคปัจจุบันที่กำลังทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบอยู่ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนยุคปัจจุบันหนึ่งยุคซึ่งเป็นเครื่องที่ยังมีผู้ใช้อยู่ในปัจจุบัน และระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะนำเข้ามาใช้แทนยุคปัจจุบัน 
1.2 ด้าน Software คือ โปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง เช่น ระบบ PC-DOS, MS-DOS, UNIX, OS/2 และ WINDOWS ในเวอร์ชันต่าง ๆ นอกจากนี้ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม APPLICATION ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้าน WORD PROCESSING เช่น CU-WRITER,WORD FOR WINDOWS, MICROSOFT WORD Version ต่าง ๆ , LOTUS Version ต่าง ๆ , Dbase, FOXPRO, ACCESS Version ต่าง ๆ เป็นต้น 
นักวิเคราะห์ระบบไม่จำเป็นจะต้องเขียนโปรแกรมเป็นหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นทุกเครื่อง แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านนี้มามากเพียงพอที่จะทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบได้ เช่น ต้องรู้ว่าธุรกิจแห่งนั้นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ระบบอะไร ซึ่งเหมาะสมกับระบบธุรกิจนั้นหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมควรจะแนะนำให้ใช้ระบบอะไรแทนหรือถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมไปใช้ระบบใหม่ ต้องออกแบบระบบใหม่ให้ใช้ได้อย่างถูกต้องตามความต้องการและความเหมาะสมของผู้ใช้ระบบ เป็นต้น 
2. เป็นผู้มีความรู้ทางด้านธุรกิจแขนงต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้สำหรับการบริหารองค์กร เช่น 
2.1 ความรู้ทางด้านการบริหารทั่วไป เกี่ยวกับการจัดองค์กรธุรกิจ การจำแนกสายการปฏิบัติงาน การจัดตั้งทีมงาน หรือความรู้เกี่ยวกับการจัดองค์กรบริหารธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น 
2.2 ความรู้สำหรับใช้ในการตัดสินใจ (Decision Making และ Decision Support) เช่น Statistics, Probability, Theory of Game, Decision Table, Network Analysis เป็นต้น 
2.3 ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการออกแบบระบบ เพราะการออกแบบระบบนั้นจะต้องเป็นการออกแบบที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรู้จักการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Feasibility Study) การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Even Analysis) การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน (Performance Analysis) เป็นต้น 
2.4 ความรู้ทางด้านระบบบัญชีและการวิเคราะห์ทางการเงิน อันเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรธุรกิจทุกแห่ง ซึ่งการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานมักจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบบัญชีและการเงินขององค์กรธุรกิจนั้น ๆ ด้วยเสมอ 
3.เป็นผู้ที่มีความรอบรู้และประสบการณ์ทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างดีโดยการศึกษาหาความรู้จาก 
3.1 การศึกษาวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานโดยตรงจากห้องเรียน หรือ จากตำราที่มีผู้เขียนขึ้นสำหรับการศึกษาหรือสำหรับการค้นคว้าของผู้สนใจทั่วไป หรือจากบทความ การสัมมนาทางวิชาการ ที่สถาบันต่าง ๆ ได้จัดขึ้น 
3.2 ประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบจริง ๆ เช่น การฝึกหัดวิเคราะห์และออกแบบระบบในห้องเรียน การไปฝึกงานหรือได้ทำงานทางด้านนี้ร่วมกับทึมงานนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ 
3.3 ประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรม ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์และออกแบบระบบไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมก็ตาม แต่ก็ต้องมีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดีอย่างน้อยหนึ่งหรือสองภาษา เช่น COBOL, BASIC, C++, PASCAL โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีความรู้หรือความสามารถในการเขียน Program Logic หรือ Program Flowchart เป็นอย่างดี 
3.4 ประสบการณ์ทางด้านการเขียนเอกสารและรายงาน (Documentation) ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกหัดและการหัดทำ หัดเขียนบ่อย ๆ 
4. ความสามารถในการแก้ปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์และออกแบบระบบจะต้องมีความสามารถที่จะแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ธุรกิจแยกออกเป็นส่วน ๆ และวิเคราะห์ปัญหาเหล่านั้นเพื่อที่จะหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหาในแง่ของการหาเหตุและผล (Cause and Effects) อย่างมีขั้นตอน และรู้จักใช้ความสามารถของตนเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหา (Alternative Solution) แม้ว่าความสามารถอันนี้จะเป็นพรสวรรค์ที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน แต่ความสามารถในการแก้ปัญหา สามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้ 
หัวใจของการหาวิธีการแก้ปัญหาที่สำคัญ คือ การพยายามมองภาพของปัญหาในกว้าง ๆ อย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาวิธีแรกที่ตนคิดเป็นวิธีที่ดีที่สุด และเป็นวิธีเดียวเท่านั้น อย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาที่คนอื่น ๆ คิด เพื่อแก้ปัญหาที่คล้าย ๆ กันกับของตนนั้นเป็นวิธีมาตรฐาน และใช้ได้กับวิธีของเรา ควรพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อน (Strong and Weak Point) ของแต่ละวิธีโดยละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจนำวิธีการนั้น ๆ มาพัฒนาเป็นระบบใช้งานจริง 
5. มีมนุษยสัมพันธ์และความสามารถในการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากนักวิเคราะห์และออแบบระบบจะต้องพบปะกับบุคคลหลายประเภท หลายอาชีพ และหลายระดับ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การสื่อสารจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้บุคคลต่าง ๆ ที่นักวิเคราะห์ระบบติดต่ออยู่เข้าใจในสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบต้องการ และในที่นี้จะหมายรวมถึง ความสามารถที่จะสัมภาษณ์ (Interview) ความสามารถที่จะอธิบายหรือชี้แจงในที่ประชุม (Presentation) รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง (Listening) ด้วย 
6. ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม (Group Work or Team) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะขาดเสียไม่ได้ เนื่องจากงานของนักวิเคราะห์ระบบส่วนใหญ่จะต้องกระจายให้กับโปรแกรมเมอร์ ถัดลงไปคือการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม จึงส่งผลต่อความสำเร็จและความเชื่อถือต่อนักวิเคราะห์ระบบเองโดยตรง ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบควรจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะการทำงานแต่กับฝ่ายของตนเองหรือกับโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หากแต่จะต้องทำตัวเองให้เป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบได้อีกด้วย การทำงานโดยทำให้ผู้ใช้ระบบรู้สึกเป็นกันเองกับนักวิเคราะห์ระบบจะทำให้การติดตั้งระบบงานเป็นไปโดยสะดวกขึ้น พร้อมกับลดแรงกดดันหรือต่อต้านจากผู้ใช้ระบบที่มีแนวความคิดว่า โดนยัดเยียดระบบงานใหม่ให้แทนระบบงานดั้งเดิม 
7. ประสบการณ์เก่า ซึ่งไม่สมารถจะหลีกหนีความเป็นจริงไปได้ ว่าประสบการณ์มีความสำคัญต่อทุกสาขาอาชีพ นักวิเคราะห์ระบบก็เช่นเดียวกัน ประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาในระหว่างปฏิบัติงานทางด้านการพัฒนาระบบ จะเป็นการส่งเสริมให้ตัวนักวิเคราะห์ระบบก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ