อินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นระบบที่ได้การกล่าวขวัญถึงกันอย่างมากคู่กับอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรต่าง ๆ ได้มีการนำอินทราเน็ตมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จนทำให้ระบบที่เกี่ยวกับอินทราเน็ตเป็นระบบที่ผู้ค้าต่าง ๆ มุ่งเข้ามาสู่กันมากที่สุด โดยสามารถให้นิยามของอินทราเน็ตได้คือ
ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ก็คือระบบเครือข่ายภายในองค์การที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกัน (Workgroup) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการทำงานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์การ
ประโยชน์ของอินทราเน็ต
ประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตมาใช้ในองค์กรต่าง ๆ คือ ลดต้นทุนในการบริหารข่าวสารข้อมูล เนื่องจากการจัดเก็บข่าวสารต่าง ๆ ภายในองค์กร สามารถจัดเก็บอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายดาย ด้วยการใช้ภาษา และใช้บราวเซอร์ในการอ่านเอกสาร ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดพิมพ์เอกสารกระดาษ
ช่วยให้ได้รับข่าวสารที่ใหม่ล่าสุดเสมอ เนื่องจากการจัดเก็บข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากเหมือนการพิมพ์ลงกระดาษ และไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทำให้บุคลากรในองค์กรสามารถรับข่าวสารใหม่ล่าสุดได้เสมอ
ช่วยในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างฉับไว ไม่ว่าบุคลากรจะอยู่ห่างกันคนละชั้น คนละตึก หรือคนละจังหวัด ด้วยการใช้เทคโนโลยีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการคุยติดต่อผ่านแป้นพิมพ์ หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีประชุมทางไกล เป็นการช่วยลดการสูญเสียเวลาของบุคลากร ตลอดจนช่วยให้ทีมงานมีการประสานงานกันดีขึ้น
เสียค่าใช้จ่ายต่ำ การติดตั้งอินทราเน็ตจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการติดตั้ง ซอฟต์แวร์การทำงานแบบกลุ่ม (Workgroup software) ทั่วไปมาก เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีแบบเปิดของอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตซึ่งมีราคาไม่สูงนัก หรือในงานบางส่วนอาจไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย เนื่องจากมีแชร์แวร์และฟรีแวร์อยู่มากมายในอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ หากองค์กรมีระบบเครือขายภายในอยู่แล้ว การติดตั้งระบบอินทราเน็ตเพิ่มเติมจะเสียค่าใช้จ่ายต่ำมาก เนื่องจากสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วได้ทันทีตามคุณสมบัติ การใช้งานข้ามระบบ (cross platfrom) ที่แตกต่างกันได้ของอินเตอร์เน็ต
เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเปิด ทำให้องค์กรไม่ผูกติดอยู่กับผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง จึงช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ผู้ค้าเลิกกิจการ ผู้ค้าเลิกการผลิตและสนับสนุน หรือผู้ค้าขึ้นราคา เป็นต้น รวมทั้งช่วยให้สามารถหาซอฟต์แวร์ใหม่ ที่จะมาช่วยในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพึ่งอยู่กับผู้ผลิตเพียงรายเดียว
เตรียมความพร้อมขององค์กรที่จะเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้ทันที รวมทั้งเป็นการเตรียมความรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตด้วย
องค์ประกอบของอินทราเน็ต
จากนิยมจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของอินทราเน็ตจะคล้ายคลึงกับอินเตอร์เน็ตอย่างมาก เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตมาใช้งานนั้นเอง โดยอินทราเน็ตที่ดีครวประกอบด้วย
การใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นโปรโตคอลสำหรับติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายใช้ระบบ World Wide Web และโปรแกรมบราวเซอร์ในการแสดงข้อมูลข่าวสาร มีระบบอีเมลล์สำหรับแลกเปลี่ยนสำหรับข้อมูลระหว่างบุคลากรในองค์กร รวมทั้งอาจมีระบบนิวส์กรุ๊ปส์ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ของบุคลากร
ในกรณีที่มีการเชื่อมต่อระบบอินทราเน็ตในองค์กรเข้ากับอินเตอร์เน็ต จะต้องมีระบบไฟร์วอลล์ (FireWall) ซึ่งเป็นระบบป้องกันอันตรายจากผู้ไม่หวังดีที่ติดต่อเข้ามาจากอินเตอร์เน็ต โดยระบบไฟร์วอลล์จะช่วยกลั่นกรองให้ผู้ที่ติดต่อเข้ามาใช้งานได้เฉพาะบริการและพื้นที่ในส่วนที่อนุญาตไว้เท่านั้น รวมทั้งช่วยกัน นักเจาะระบบ (hacker) ที่จะทำการขโมยหรือทำงายข้อมูลในระบบเครือข่ายขององค์กรด้วย
เอ๊กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)
เอ๊กซ์ทราเน็ต หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTERNET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่ายหรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้ง การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบ เครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่ายอินทราเน็ต จำนวนหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้
ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กรหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตอาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่ว ๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป
เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองคกรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี
ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอินเตอร์เน็ต
เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งของคุณปลอดภัย ทั้งบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและโทรศัพท์มือถือ ซิตี้แบงก์ขอแนะนำให้คุณทำตามวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ
คุณไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่น ในอินเตอร์เนทคาเฟ่ หรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น สำหรับบริการออนไลน์แบงก์กิ้ง เพราะคอมพิวเตอร์เหล่านั้นอาจจะมีโปรแกรมที่สามารถเข้าถึงและดึงข้อมูลส่วนบุคคลของคุณได้
ใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งอย่างปลอดภัย
พิมพ์ http://www.citibank.co.th หรือ http://www.citigold.citibank.co.th ลงใน address bar โดยตรงทุกครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าคุณได้เข้าสู่เวบไซต์ของธนาคารซิตี้แบงก์ที่ถูกต้อง
ตรวจสอบว่า URL ของเวบไซต์ธนาคารซิตี้แบงก์ ได้เปลี่ยนจาก http:// เป็น https:// และมีไอค่อนรูปกุญแจแสดงไว้ที่บริเวณด้านล่างของจอคอมพิวเตอร์ เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องใส่รหัสเข้าใช้งานออนไลน์แบงก์กิ้ง หรือมีความจำเป็นที่เวบไซต์ต้องมีการเข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
คุณสามารถคลิกบนรูปกุญแจดังกล่าว ซึ่งจะปรากฏรายการรับรองเรื่องความปลอดภัยขึ้นที่หน้าจอ รายการรับรองเรื่องความปลอดภัยนี้ควรจะรับรองความปลอดภัยสำหรับ http://www.citibank.co.th หรือ http://www.citigold.citibank.co.th
กดปุ่มออกจากระบบทุกครั้งที่คุณใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งเสร็จสิ้น ไม่ควรกดปิดเบราเซอร์ (web browser) เท่านั้น
แจ้งข้อมูลการติดต่อล่าสุดของคุณกับทางธนาคารฯ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะจะทำให้เราสามารถติดต่อคุณได้ทันท่วงที หากมีธุรกรรมทางธนาคารที่น่าสงสัยเกิดขึ้นกับบัญชีของคุณ
ตรวจสอบบัญชีของคุณอย่างสม่ำเสมอ และติดต่อธนาคารฯ ทันทีที่ซิตี้โฟนแบงก์กิ้ง โทร.1588 หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมธนาคารทางออนไลน์
ป้องกันรหัสผ่านของคุณ
-รหัสผ่านของคุณควรจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างตัวเลขและตัวอักษร และมีความยาวอย่างน้อย 6 อักขระ โดยที่ไม่ใช้ตัวอักษรหรือตัวเลขใดๆ ซ้ำกันเกิน 1 ครั้ง
-รหัสผ่านของคุณไม่ควรมีลักษณะเหมือนกับรหัสผู้ใช้ เบอร์โทรศัพท์ วันเกิด หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ของคุณ
- ควรจำรหัสผ่านของคุณ และไม่บันทึกข้อมูลรหัสผ่านไว้ที่ใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ
-ควรเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณอยู่เสมอ
-ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน ระหว่างการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้ง และบริการออนไลน์อื่นๆ
-ควรมั่นใจว่าไม่มีใครแอบมองในขณะที่คุณกำลังใส่รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ และไม่ควรเปิดเผยข้อมูลรหัสผ่าน หรือเปิดช่องทางให้ผู้อื่นเข้าถึงรหัสผ่านของคุณได้
-ไม่ควรเปิดเผยรหัสผ่านของคุณกับผู้ใดทั้งสิ้น แม้ว่าบุคคลนั้นจะอ้างว่าเป็นพนักงานของธนาคารซิตี้แบงก์ก็ตาม
One-Time PIN (OTP)
-ไม่ควรให้ผู้อื่นใช้งาน หรือเก็บโทรศัพท์มือถือของคุณ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่มีหมายเลขซึ่งใช้ลงทะเบียนเพื่อรับ OTP จากทางธนาคารฯ
-ไม่ควรเปิดเผย OTP ให้กับผู้ใดทั้งสิ้น
-แจ้งข้อมูลการติดต่อล่าสุดของคุณกับทางธนาคารฯ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
ป้องกันคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของคุณ
-ไม่ควรเลือกบันทึกรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบออนไลน์แบงก์กิ้ง แบบอัตโนมัติบนเบราเซอร์ (web browser)
-ควรมั่นใจว่าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของคุณมีการติดตั้งโปรแกรม anti-virus ล่าสุด และอัพเดทโปรแกรมหรือฐานข้อมูลไวรัสอยู่เสมอทันทีที่มีการแจ้งเตือน เพื่อป้องกันไวรัสชนิดใหม่ๆ ที่อาจทำอันตรายกับอุปกรณ์ของคุณ
-ควรติดตั้งโปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall) เพื่อป้องกันการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของคุณโดยผู้ไม่ได้รับอนุญาต และควรมั่นใจว่ามีการอัพเดทโปรแกรมอยู่เสมอ
-ควรมั่นใจว่ามีการอัพเดทระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือของคุณอยู่เสมอ
-ควรลบข้อมูลการใช้อินเตอร์เนททุกครั้งหลังจากการใช้งานอินเตอร์เนทเสร็จสิ้น เพื่อลบข้อมูลทางบัญชีของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่คุณใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ
-หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่ารายการใช้แฟ้มและเครื่องพิมพ์ร่วมกัน (File & Print sharing) ไม่ได้ถูกเปิดใช้งานอยู่ ในขณะที่คุณกำลังเชื่อมต่อกับระบบ
-ทำการสำรองข้อมูล (Data Backup) ที่สำคัญของคุณอยู่เสมอ
-ควรใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสข้อมูล (Encryption Technology) เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ
การเชื่อมต่อเนตเวิร์กแบบไร้สาย
-ควรตั้งรหัสผ่านสำหรับการเชื่อมต่อเนตเวิร์กแบบไร้สาย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ใช้เนตเวิร์กที่ไม่ได้รับอนุญาตมาเข้าใช้เนตเวิร์กแบบไร้สายของคุณ
-ไม่ควรเปิดเผยชื่อเนตเวิร์ก (SSID - Service Set Identifier) เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใช้เนตเวิร์กจากภายนอกเข้ามาเชื่อมต่อเนตเวิร์กแบบไร้สายของคุณ
-ควรเข้ารหัสสำหรับการเคลื่อนย้ายข้อมูล (Data Transmission Encryption) เพื่อป้องกันเนตเวิร์กแบบไร้สายของคุณ
-ควรอนุญาตให้เฉพาะอุปกรณ์ที่มีการลงทะเบียนตรวจสอบ เชื่อมต่อเนตเวิร์กแบบไร้สายของคุณเท่านั้น
ระมัดระวังอีเมลล์ล่อลวง
อีเมลล์ล่อลวง คือ อีเมลล์ในลักษณะปลอมแปลงให้ผู้รับเข้าใจว่าเป็นอีเมลล์ที่ถูกต้อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อล่อลวงให้ผู้รับเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลทางบัญชี รหัสเอทีเอ็ม ซึ่งสามารถนำไปกระทำการทุจริตต่อไปได้ ด้วยการให้คุณตอบกลับอีเมลล์ หรือทำรายการเชื่อมโยงไปยังเวบไซต์อื่นๆ ที่ดูน่าเชื่อถือ
-ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทางการเงิน หรือบัตรเครดิต บนเว็บไซต์ที่น่าสงสัยหรือไม่มีความน่าเชื่อถือ
-ไม่เปิดอีเมลล์ที่มีไฟล์แนบซึ่งส่งมาจากบุคคลที่คุณไม่รู้จัก หรือลงโปรแกรมใดๆ ซึ่งไม่ทราบที่มา
ธนาคารจะไม่ส่งอีเมลล์ถึงคุณเพื่อขอรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ที่เป็นความลับทั้งสิ้น คุณไม่ควรตอบรับอีเมลล์ใดๆ ที่ขอรหัสผ่าน หรือเปิดเผยข้อมูลรหัสผ่านของคุณให้กับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
ระมัดระวังซอฟท์แวร์สอดแนม (Spyware)
ซอฟท์แวร์สอดแนม คือ ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบเพื่อสังเกตการณ์หรือดักจับข้อมูลการใช้อินเตอร์เนท โดยถูกติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (ด้วยความยินยอมจากผู้ใช้หรือไม่ก็ตาม) เมื่อมีการดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ เกม หรือสกรีนเซฟเวอร์ จากเวบไซต์ต่างๆ ซอฟท์แวร์สอดแนมเหล่านี้มักจะอ้างว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานคอมพิวเตอร์ของคุณ
ซอฟท์แวร์สอดแนมสามารถแอบดักข้อมูลและเข้าถึงรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต และบันทึกเวบไซต์ที่ผู้ใช้เข้าถึง นอกจากนี้ ยังสามารถอ่านข้อมูลในจานบันทึก (Hard Drive) ทำให้การใช้งานบนคอมพิวเตอร์ล่าช้า เนื่องจากการใช้ทรัพยากรระบบที่สูงเกินปกติ ส่งผลไปถึงความเสียหายของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ไม่ควรล็อกอินเข้าสู่ระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์ในขณะที่คอมพิวเตอร์ของคุณมีซอฟท์แวร์เหล่านี้ติดตั้งอยู่ หากในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีซอฟท์แวร์ที่อ้างว่าสามารถเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เนท หรือมีแถบเครื่องมือจากซอฟท์แวร์บุคคลที่สาม คุณอาจกำลังใช้ซอฟท์แวร์ที่มีความสามารถในการดักจับข้อมูลการใช้อินเตอร์เนท เราขอแนะนำในคุณลบซอฟท์แวร์เหล่านั้นทิ้งไป`
ความปลอดภัยของซิตี้แบงก์ ออนไลน์
การรักษาความปลอดภัยทางข้อมูล และการมอบประสบการณ์ในการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งอย่างปลอดภัยให้กับลูกค้า ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของธนาคารซิตี้แบงก์
การเข้ารหัสข้อมูลแบบ
ทุกข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์กับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของคุณ จะถูกเข้ารหัสและถอดรหัสด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลแบบ 128 บิท ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งในขณะนี้
แป้นพิมพ์ลอย (Virtual Keyboard)
ซิตี้แบงก์ออนไลน์มีระบบแป้นพิมพ์ลอยสำหรับการใส่รหัสผ่าน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้าในการล็อกอินเข้าสู่ระบบ
การล็อกอินเข้าสู่ระบบอย่างปลอดภัยด้วยคำถามลับ (Security Question)
ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์ทุกครั้ง นอกจากการใส่รหัสผ่านแล้ว ลูกค้าจะต้องตอบคำถามลับที่เคยเลือกไว้เมื่อครั้งลงทะเบียนเข้าใช้งานซิตี้แบงก์ออนไลน์ โดยระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์จะไม่มีการบันทึกรหัสผ่านหรือคำตอบใดๆ ไว้ในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของลูกค้าทั้งสิ้น
การยกเลิกการเชื่อมต่อกับระบบแบบอัตโนมัติ
หากไม่มีการใช้งานในระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์เป็นเวลากว่า 5 นาที ระบบจะทำการยกเลิกการเชื่อมต่อของคุณกับระบบโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเข้าถึงระบบซิตี้แบงก์ออนไลน์จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
การรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลของลูกค้า
ธนาคารซิตี้แบงก์มีมาตรฐานที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลของลูกค้า และมีการตรวจสอบภายในอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรฐานนั้นๆ
แจ้งเหตุละเมิดทางออนไลน์
หากคุณเชื่อว่ามีการละเมิดข้อมูลบัญชีของคุณทางออนไลน์โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือมีธุรกรรมธนาคารทางออนไลน์เกิดขึ้นกับบัญชีของคุณ โดยที่คุณไม่ได้เป็นผู้กระทำ กรุณาแจ้งทันทีที่เจ้าหน้าที่ซิตี้โฟนแบงก์กิ้ง โทร. 1588
เหตุละเมิดทางข้อมูลจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประเมินความเสียหาย หากมีความสงสัยว่ามีการละเมิดข้อมูลเกิดขึ้นจริง ทางธนาคารฯ จะตรวจสอบเหตุละเมิดนั้นๆ ต่อไป
ทางธนาคารฯ จะมีการแจ้งผลการตรวจสอบเหตุละเมิดเป็นระยะๆ หากแต่ความรวดเร็วในการค้นหาวิธีแก้ไขเหตุละเมิด ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและรายละเอียดของเหตุละเมิดนั้นๆ
ในระหว่างการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ของเราอาจขอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุละเมิดของคุณเพิ่มเติม เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขเหตุละเมิดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ผู้ใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้ง มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการป้องกันตนเองจากภัยทางออนไลน์ ดังนี้
คุณมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการเก็บรหัสผ่านของคุณเป็นความลับ และมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงหรือค้นเจอรหัสผ่านนั้นๆ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม รวมไปถึงการตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีใครแอบมองในขณะที่คุณกำลังใส่รหัสผ่านของคุณ
ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่น ในอินเตอร์เนทคาเฟ่ หรือคอมพิวเตอร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ สำหรับบริการออนไลน์แบงก์กิ้ง
หากคุณเชื่อว่ามีการโจรกรรมหรือการสูญหายของหมายเลขบัตรเครดิต และ/หรือ รหัสเอทีเอ็มของคุณ หรือมีธุรกรรมธนาคารทางออนไลน์เกิดขึ้นกับบัญชีของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต กรุณาแจ้งทันทีที่เจ้าหน้าที่ซิตี้โฟนแบงก์กิ้ง โทร. 1588
กรุณาอ่าน และทำตามวิธีการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งอย่างปลอดภัยของธนาคารซิตี้แบงก์ เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือของคุณ
ควรมั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือของคุณไม่มีความเสียหายทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การสูญหายของข้อมูล และไม่มีไวรัสต่างๆ ติดตั้งอยู่ในเครื่อง
ไม่ควรเปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือวางโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ ในขณะที่คุณกำลังใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้ง
คุณมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการอ่าน และทำตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้ง ที่คุณได้ตกลงยินยอมก่อนเข้าใช้บริการออนไลน์แบงก์กิ้งของธนาคารซิตี้แบงก์
การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานต่าง ๆ อาจยกตัวอย่างๆ ได้ เช่น
-บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bulletin Boards services)
-กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารรวมทั้งแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานข่าวของกลุ่มแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สนใจสามารถเข้ามาชมและฝากข้อความไว้ได้ ทำให้ข่าวสารสามารถแลกเปลี่ยนได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
จดหมายและจดหมายเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail and Vioce Mail)
ระบบการส่งจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข่าวสารโดยระบุตัวผู้รับเช่นเดียวกับการส่งจดหมาย แต่ผู้รับจะได้จดหมายอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นการส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกัยอยู่ ส่วนระบบจดหมายเสียงจะเป็นจดหมายที่ผู้รับสามารถรับฟังเสียงที่ฝากมากได้ด้วย
การประชุมระยะไกลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Teleconference)
การประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องที่ได้ความสนใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งในขณะนี้ โดยผู้ใช้จะสามารถร่วมประชุมกันได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าผู้ใช้งานแต่ละคนอยู่ไกลกันเพียงใดก็ตาม ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยังเป็นการหระหวัดเวลาของผู้ร่วมประชุมแต่ละคนด้วย รวมทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ใช้ตรวจรักษาโรคผ่านระบบประชุมทางไกล หรือใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น
บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Information services)
การบริการสนเทศ เป็นประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยผู้ให้บริการจะสามารถบริการสารสนเทศที่มีความสำรัญและเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ ผ่านทางเครือข่าย ซึ่งผู้ใช้จะสามารถเรียกดูสารสนเทศเหล่านั้นได้ทันทีทันใดและตลอด 24 ชั่วโมง
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI)
ระบบ EDI จะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรทางธุรกิจต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารที่เป็นแบบฟอร์มมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ใบส่งของ ใบสั่งซื้อ หรืออื่น ๆ ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถลดการใช้แบบฟอร์มที่เป็นกระดาษ ลดการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งเพิ่มความเร็วและลดความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์ด้วยมาตรฐานอีดีไอที่ยอมรับใช้งานกันทั่วโลกได้เกิดขึ้นในปี 1987 โดยองค์กรการสหประชาชาติได้พัฒนามาตรฐานที่มีชื่อว่า UN/EDIFACT (United Nations/EDI for Administration Commerce and Transportation) และองค์กร ISO ก็ได้ยอมรับและกำหนดชื่อให้เป็น ISO 9735 ในประเทศไทยก็เริ่มมีองค์การที่มีการนำระบบ EDI มาใช้แล้ว และคาดว่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer -EFT)
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) เข้า-ออกหรือระหว่างบัญชีของธนาคาร เป็นการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันก็คือการฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM (Automated teller machine) รวมทั้งระบบการโอนเงินระหว่างบัญชี ไม่ว่าจะทำผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารหรือผ่านระบบธนาคารทางโทรศัพท์ก็ตาม
การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shopping)
บริการการสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิคส์ กล่าวได้ว่าเป็นแนวโน้มของการค้าโลกในยุคต่อไป ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าจากบ้านหรือที่ทำงาน โดยดูลักษณะของสินค้าจากภาพที่ส่งมาแสดงที่หน้าจอ และผู้ค้าสามารถได้รับเงินจากผู้ซื้อด้วยบริการโอนเงินทางอิเลคทรอนิกส์แบบต่างๆ ทันที
การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะ หมายความรวมถึงการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ข้อมูลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย
รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภท
1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3. ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งจะตังอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ โดยการเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลที่เครื่องกลาง ซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางจะมีราคาสูง และและไม่สามารถสนับสนุนระบบการประมวลผลแบบ Multiprocessor ได้ดีเท่ากับระบบเครือข่ายแบบ Client/Server ปัจจุบันระบบนี้จึงมีความนิยมในการใช้งานลดน้อย
2.ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer
แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเองเช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้
ข้อดีของระบบนี้คือ ความง่ายในการจัดตั้งระบบ มีราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ซึ่งมักจะมอบเป็นภาระหน้าที่ของผู้ใช้ในแต่ละสถานีงานให้ รับผิดชอบในการดูแลพิจารณาการแบ่งปันทรัพยากรของตนเองให้กับสมาชิกผู้อื่นในกลุ่ม ดังนั้นระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ข้อด้อยของระบบนี้คือ เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ
3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server นี้จะเป็นเครื่องที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆ เพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย
การแบ่งปันการใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่าย
เมื่อกล่าวถึงทรัพยากรบนระบบเครือข่าย ในที่นี้จะคลอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อำนวยประโยชน์กับผู้ใช้ในระบบ เช่น แฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล รูปภาพและสไลด์สำหรับเสนอผลงาน ตลอดจนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บนระบบเครือข่าย ได้แก่ ฮาร์ดไดร์ฟที่มีการแชร์ไว้สำหรับให้บริการพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือใช้เป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวสำหรับการโยกย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย เครื่องโทรสาร เป็นต้น นอกจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในสภาพการณ์ปัจจุบันนั่นก็คือ ข่าวสารข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการส่งข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง หรือการกระจายข่าวสารที่มีความสำคัญจากผู้บริหาร หรือฝ่าย สารสนเทศขององค์กร สภาพแวดล้อมของระบบเครือข่ายที่เอื้ออำนวยต่อการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานในระบบนี้ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้องค์กรประสพความสำเร็จในการประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ